“โครงการสนามการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า
(The Electric Playground)”
ปลุกพลังคิด(ส์) เปิดสวิตช์ไอเดีย เปลี่ยนของเสียเป็นพลังงานไฟฟ้า
คือโครงการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมสำหรับเยาวชนไทย
บนโจทย์การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะและการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน
(Waste to Energy – W2E)
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พ.ศ. 2563
ดำเนินการโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ในฐานะองค์กรหลักในการเสริมสร้างระบบนวัตกรรมแห่งชาติ ตระหนักถึงปัญหา และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างนวัตกรรมเพื่อแปรเปลี่ยนขยะหมุนเวียนกลับมาให้ก่อเกิดประโยชน์เป็นพลังงานไฟฟ้า รวมไปถึงกระบวนการในการจัดการขยะเพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เกิดเป็นการร่วมมือกับพันธมิตร ดำเนินงานร่วมกันทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน โรงเรียน และมหาวิทยาลัย ริเริ่มโครงการสนามการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า The Electric Playground ขึ้น
โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) พ.ศ. 2563 ภายใต้แคมเปญ Clean Energy for Life เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและการเรียนรู้เรื่องพลังงานหมุนเวียน ต่อยอดสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษากว่า 10,000 คน ใน 50 โรงเรียน รวมไปถึงครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง องค์กรหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเยาวชนและประชาชนที่สนใจ
ดำเนินโครงการภายใต้หลักสูตร STEAM4INNOVATOR หลักสูตรบูรณาการองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการสร้างสรรค์นวัตกรรม ผ่านกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ Insight, Wow! Idea, Business Model, Production & Diffusion ผนึกกำลัง Partners และทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความเข้มข้นให้กับหลักสูตรของโครงการฯ
ศึกษาข้อมูลความรู้พลังงานไฟฟ้า Waste to Energy พร้อมค้นหาแรงบันดาลใจจากปัญหาและโอกาสรอบๆ ตัว นำความคิดที่หลากหลายมาสังเคราะห์เป็นไอเดียที่มีคุณค่า
ประเมินความเป็นไปได้เชิงเทคโนโลยีธุรกิจและการจัดการ ทดลองเขียนแผนดำเนินกิจกรรมเบื้องต้น ลงมือทำต้นแบบชิ้นงานหรือกระบวนการ (Prototype) เพื่อทดสอบ โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ
น้องๆ ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าค่ายนวัตกรสุดพิเศษ เรียนรู้หลักสูตร STEAM4INNOVATOR แบบเข้มข้น และพัฒนานวัตกรรมสำหรับรอบชิงชนะเลิศ
จบรอบสุดท้ายด้วย “เวทีคุยโวลต์” ที่น้องๆ เจ้าของทั้ง 25 ผลงาน จะได้นำเสนอในรอบ Implementation Pitching
เตรียมความพร้อมสื่อการสอน ทีมกระบวนกร 50 คน และคุณครู 250 คน จาก 50 โรงเรียน ใน 3 พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ภูเก็ต และขอนแก่น