ดร. ศุภชัย พึ่งสังวาลย์

ดร. ศุภชัย พึ่งสังวาลย์

"ทักษะการเชื่อมโยงคือทักษะที่สำคัญมากต่อถนนสายนวัตกรรม ผู้ที่ประสบความสำเร็จทางด้านนวัตกรรมในโลกนี้ จะต้องมีทักษะการเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี"

ธัญลักษณ์ แสงลาภเจริญกิจ (แทน)

ธัญลักษณ์ แสงลาภเจริญกิจ (แทน)

“ขยะ” เป็นปัญหาที่สำคัญมากของทุกคน ซึ่งมีการจัดการที่ผิดวิธีอยู่มาก ถ้าเรานำความรู้การจัดการขยะที่ถูกวิธีและใช้ได้จริงส่งต่อข้อมูลไปยังคุณครู นักเรียน และคนทั่วไป ก็น่าจะเป็นประโยชน์และช่วยพัฒนาสังคมอย่างมาก

สุธี สุขสุเดช (สุธี)

สุธี สุขสุเดช (สุธี)

“ขยะ” ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะและรู้ถึงระบบนวัตกรรมการจัดการขยะ ซึ่งการแสดงความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองด้วยการแยกขยะ ก็ช่วยให้คนที่รับช่วงต่อมีภาระลดน้อยลง และการแยกขยะยังนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย

สุภารัตน์ เชื้อโชติ (ดาว)

สุภารัตน์ เชื้อโชติ (ดาว)

"ขยะ หรือสิ่งรอบตัว ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง ถ้าเราจะอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขได้ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นสำคัญ ดังนั้นเรามีโอกาสสร้างขยะใหม่ๆ ขึ้นได้ทุกวัน แต่ขณะเดียวกันก็เราก็ปรับทัศนคติและพฤติกรรมได้"

ชุติมา เรืองแก้วมณี (ติ)

ชุติมา เรืองแก้วมณี (ติ)

"ขยะและนวัตกรรม นั้นแท้จริงนำมาทำเป็นกิจกรรมสนุกๆ และเรียนรู้ไปพร้อมกันได้ เช่น ขยะ 1 ชิ้นมีเส้นทางการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทางอย่างไร"

ผศ. ดร.ชลกาญจน์ วงศ์ก่อทรัพย์

ผศ. ดร.ชลกาญจน์ วงศ์ก่อทรัพย์

"ทุกไอเดียของเยาวชนไทยมีความเป็นไปได้เสมอ หากได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง"

แบม ศรินพรรณ ธารณธรรม

แบม ศรินพรรณ ธารณธรรม

“ขวดพลาสติกจากน้ำอัดลม 1 ขวด สามารถคัดแยกพลาสติกได้หลายชิ้น เช่น ฝา ขวด ฉลาก หากเราคัดแยกออกจากกัน ขยะก็จะมีมูลค่ามากยิ่งขึ้น และนำไปทำประโยชน์อื่นๆ ได้อีกมาก”

ติ ชุติมา เรืองแก้วมณี

ติ ชุติมา เรืองแก้วมณี

“คนที่สร้างขยะก็คือคนเดียวกับที่ช่วยลดขยะ โครงการสนามการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า The Electric Playground ทำให้เราเข้าใจว่า คนหนึ่งคนสามารถมีส่วนร่วมอยู่ได้ในทุกเส้นทางขยะ”

พุทธชาด ปานรอด (มะปราง)

พุทธชาด ปานรอด (มะปราง)

เพราะเราเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ นั้นมีค่ามาก นวัตกรรมที่เราเห็นทุกวันนี้ ก็เกิดขึ้นจากความสงสัย ความสนใจ ความสนุกสนาน...

ดลพร นิธิพิทยปกฤต (ฝนใส)

ดลพร นิธิพิทยปกฤต (ฝนใส)

ถึงแม้การประกวดจะมีผู้แพ้ ผู้ชนะ แต่ระหว่างทางทีมงานทุกส่วนได้ร่วมมือกันออกแบบและพัฒนาโปรแกรม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน ได้รับประสบการณ์ที่คุ้มค่ากลับไปให้มากที่สุด”

ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์

ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์

ไม่ใช่ขยะทั้งหมดที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ การมีโรงไฟฟ้าพลังงานขยะถือเป็นการแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์เฉพาะหน้า สิ่งสำคัญคือการกำจัดขยะตั้งแต่ต้นทางให้ได้มากที่สุด”

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์

“การสร้างสรรค์นวัตกรรม ไม่จำกัดอยู่ในรูปแบบของชิ้นงาน แต่สามารถเป็นองค์ความรู้ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงด้านวิธีคิด และวิถีชีวิต ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความเปลี่ยนแปลง”

<<<12>>>