Qoute : ดร. ศุภชัย พึ่งสังวาลย์ อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญจาก
ศูนย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

ดูแล้ว 4811 ครั้ง



ดร. ศุภชัย พึ่งสังวาลย์ อาจารย์ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ สมาร์ทฟาร์มมิ่ง
หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ รวมถึงการประยุกต์แนวคิด IoT ในการพัฒนากระบวนการตัดสินใจ (Decision Making) ให้กับระบบอุตสาหกรรมและการผลิต
มองว่าการออกแบบการเรียนรู้บนพื้นฐานของการสร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นแนวคิดที่ถูกทางมากๆ ขอชื่นชมโครงการสนามการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า - The Electric Playground สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) NIA : National Innovation Agency, Thailand ที่ออกแบบกิจกรรมดีๆ แบบนี้ สำหรับการศึกษาไทย จากการที่ได้มีโอกาสให้คำปรึกษาน้องๆ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญประจำศูนย์ฯ เรียนรู้ได้ว่า น้องๆ เยาวชนไทย มีศักยภาพในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างมีความใฝ่รู้
.
สิ่งที่อยากจะฝากไว้ ซึ่งถือเป็นทักษะที่สำคัญมากต่อการประสบความสำเร็จบนถนนสายนวัตกรรม คือ ทักษะการเชื่อมโยง ผู้ที่ประสบความสำเร็จทางด้านนวัตกรรมในโลกนี้ จะต้องมีทักษะทางด้านการเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี การศึกษาไทยควรจะเน้นไปในเรื่องของการสอนแบบเน้นทักษะการเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆ อันได้แก่ ความรู้พื้นฐานทางด้าน STEAM โจทย์ปัญหา ปรากฎการณ์ต่างๆ และที่ขาดไม่ได้คือการเชื่อมโยงผู้ที่มีส่วนร่วม (Stakeholder) ในการสร้างสรรค์ผลงาน

.
ซึ่งหลักสูตรโครงการสนามการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า - The Electric Playground เป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก สามารถทำให้เยาวชนไทย เข้าถึงองค์ความรู้ด้านนวักรรม ในระดับเกิน 10,000 คน ทั่วประเทศ ในระยะเวลาอันสั้น น้องๆ แต่ละโรงเรียนได้แสดงศักยภาพออกมาได้อย่างดีเยี่ยม มีความกล้าคิด กล้าถาม กล้าสร้างสรรค์ เป็นอย่างดี การออกแบบการเรียนรู้นวักรรม โดยการนำปัญหาขยะมาเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม ทำให้ที่น้องๆ สามารถเข้าถึงปัญหาได้อย่างดี โจทย์ไม่ดูไกลตัว และทำให้น้องๆ เข้าถึงทักษะต่างๆ ที่นักนวัตกรรมที่ดีควรมีได้เป็นอย่างดี