ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พ.ศ. 2563
โครงการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน และประลองไอเดียนวัตกรรม ด้านพลังงานและการจัดการขยะ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
โดยใช้แนวทางจัดการเรียนรู้ สมัยใหม่ที่เรียกว่า STEAM4INNNOVATOR ที่ออกแบบโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
มาสร้างให้การเรียนรู้ เกิดผ่าน กระบวนการลงมือทำ และ ลงมือสร้างสรรค์นวัตกรรมซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตามโครงการสื่อสารรณรงค์ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
CLEAN ENERGY FOR LIFE - ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน
แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ที่จะช่วยสนับสนุนห้องเรียนนวัตกรด้วยระบบการจัดการห้องเรียนแบบผสมผสานห้องแนะแนว
ที่เชื่อมนวัตกรกับผู้เชี่ยวชาญที่ตรงสาย และพื้นที่แบ่งปันประสบการณ์ของชุมชนผู้สร้างนวัตกร
ข่าวสารและกิจกรรม
ห้องสร้างแรงบันดาลใจ
ดร. ศุภชัย พึ่งสังวาลย์
ดร. ศุภชัย พึ่งสังวาลย์"ทักษะการเชื่อมโยงคือทักษะที่สำคัญมากต่อถนนสายนวัตกรรม ผู้ที่ประสบความสำเร็จทางด้านนวัตกรรมในโลกนี้ จะต้องมีทักษะการเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี"
ธัญลักษณ์ แสงลาภเจริญกิจ (แทน)
ธัญลักษณ์ แสงลาภเจริญกิจ (แทน)“ขยะ” เป็นปัญหาที่สำคัญมากของทุกคน ซึ่งมีการจัดการที่ผิดวิธีอยู่มาก ถ้าเรานำความรู้การจัดการขยะที่ถูกวิธีและใช้ได้จริงส่งต่อข้อมูลไปยังคุณครู นักเรียน และคนทั่วไป ก็น่าจะเป็นประโยชน์และช่วยพัฒนาสังคมอย่างมาก
สุธี สุขสุเดช (สุธี)
สุธี สุขสุเดช (สุธี)“ขยะ” ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะและรู้ถึงระบบนวัตกรรมการจัดการขยะ ซึ่งการแสดงความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองด้วยการแยกขยะ ก็ช่วยให้คนที่รับช่วงต่อมีภาระลดน้อยลง และการแยกขยะยังนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย
สุภารัตน์ เชื้อโชติ (ดาว)
สุภารัตน์ เชื้อโชติ (ดาว)"ขยะ หรือสิ่งรอบตัว ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง ถ้าเราจะอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขได้ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นสำคัญ ดังนั้นเรามีโอกาสสร้างขยะใหม่ๆ ขึ้นได้ทุกวัน แต่ขณะเดียวกันก็เราก็ปรับทัศนคติและพฤติกรรมได้"
ชุติมา เรืองแก้วมณี (ติ)
ชุติมา เรืองแก้วมณี (ติ)"ขยะและนวัตกรรม นั้นแท้จริงนำมาทำเป็นกิจกรรมสนุกๆ และเรียนรู้ไปพร้อมกันได้ เช่น ขยะ 1 ชิ้นมีเส้นทางการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทางอย่างไร"
ผศ. ดร.ชลกาญจน์ วงศ์ก่อทรัพย์
ผศ. ดร.ชลกาญจน์ วงศ์ก่อทรัพย์"ทุกไอเดียของเยาวชนไทยมีความเป็นไปได้เสมอ หากได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง"
แบม ศรินพรรณ ธารณธรรม
แบม ศรินพรรณ ธารณธรรม“ขวดพลาสติกจากน้ำอัดลม 1 ขวด สามารถคัดแยกพลาสติกได้หลายชิ้น เช่น ฝา ขวด ฉลาก หากเราคัดแยกออกจากกัน ขยะก็จะมีมูลค่ามากยิ่งขึ้น และนำไปทำประโยชน์อื่นๆ ได้อีกมาก”
ติ ชุติมา เรืองแก้วมณี
ติ ชุติมา เรืองแก้วมณี“คนที่สร้างขยะก็คือคนเดียวกับที่ช่วยลดขยะ โครงการสนามการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า The Electric Playground ทำให้เราเข้าใจว่า คนหนึ่งคนสามารถมีส่วนร่วมอยู่ได้ในทุกเส้นทางขยะ”
พุทธชาด ปานรอด (มะปราง)
พุทธชาด ปานรอด (มะปราง)“เพราะเราเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ นั้นมีค่ามาก นวัตกรรมที่เราเห็นทุกวันนี้ ก็เกิดขึ้นจากความสงสัย ความสนใจ ความสนุกสนาน...”
ดลพร นิธิพิทยปกฤต (ฝนใส)
ดลพร นิธิพิทยปกฤต (ฝนใส)“ถึงแม้การประกวดจะมีผู้แพ้ ผู้ชนะ แต่ระหว่างทางทีมงานทุกส่วนได้ร่วมมือกันออกแบบและพัฒนาโปรแกรม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน ได้รับประสบการณ์ที่คุ้มค่ากลับไปให้มากที่สุด”
ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์
ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์“ไม่ใช่ขยะทั้งหมดที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ การมีโรงไฟฟ้าพลังงานขยะถือเป็นการแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์เฉพาะหน้า สิ่งสำคัญคือการกำจัดขยะตั้งแต่ต้นทางให้ได้มากที่สุด”
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์“การสร้างสรรค์นวัตกรรม ไม่จำกัดอยู่ในรูปแบบของชิ้นงาน แต่สามารถเป็นองค์ความรู้ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงด้านวิธีคิด และวิถีชีวิต ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความเปลี่ยนแปลง”
สุขพิชัย คณะช่าง (อาร์ม)
สุขพิชัย คณะช่าง (อาร์ม)“จริงๆ แล้วการจัดการขยะมันมีมากกว่าแค่การคัดแยกขยะให้ถูกต้อง เพราะหากนำความรู้ด้านนวัตกรรมมาปรับใช้จะสามารถมองเห็นทางออกของปัญหานี้ได้หลายทาง”
ห้องสมุดนวัตกร